Enterprise Resource Planning (ERP)

            คือ ระบบบริหารเพื่อวางแผนและจัดการทรัพยากรเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร โดยเป็นระบบที่เชื่อมโยงระบบงานต่างๆขององค์กรเข้าด้วยกัน เป็นตัวช่วยที่ทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรของบริษัทนั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังสนับสนุนให้มีการทำงานร่วมกันภายในองค์กร ใช้ข้อมูลบนแพลตฟอร์มตเดียวกันได้อย่างเต็มประสิทธิภาพสูงสุด ช่วยให้ทุกส่วนงานของธุรกิจสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิผลยิ่งขึ้นและไม่ทำงานซ้ำซ้อน พร้อมสามารถรับรู้สถานการณ์และปัญหาของงานต่างๆ ได้ทันท่วงที ทำให้สามารถตัดสินใจดำเนินธุรกิจหรือแก้ปัญหาภายในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ สะดวก รวดเร็วยิ่งขึ้น และยังมีมาตรฐานในความปลอดภัยของข้อมูล โดย ERP ประกอบไปด้วย โมดูลต่างๆที่ช่วยให้การทำงานของแต่ละแผนกทำงานได้ง่ายขึ้น

            โมดูล (Modules) คือ หน่วยของฟังก์ชั่นการทำงานในระบบ ERP  กล่าวคือ เป็นระบบย่อยต่างๆใน ERP ได้แก่ ระบบสินค้าคงคลัง(Inventory),การบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า(CRM), ระบบงานขาย(Sales), ฝ่ายงานซื้อ(Purchasing), ฝ่ายการตลาด(Marketing), งานบัญชีและการเงิน(Accounting and Finance), งานบริหารทรัพยากรมนุษย์(HRM), ระบบบริการหลังการขาย(CSE), งานบริการดูแลและบำรุงรักษา(MA), ระบบบริหารจัดการคลังสินค้าและโลจิสติกส์(WMS) และระบบขายหน้าร้าน(POS) เป็นต้น  ซึ่งแต่ละระบบหรือผู้ให้บริการก็จะมีจำนวนโมดูลที่แตกต่างกันออกไป 

IT manager analyzing the architecture of ERP (Enterprise Resource Planning) system on virtual AR screen with connections between business intelligence (BI), production, HR and CRM modules

ประโยชน์ของ ERP

  • ระบบบริหารงานองค์กรแบบครบวงจรบนระบบคลาวด์ สะดวกสบายเข้าใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลา
  • ครอบคลุมการทำงานทุกส่วนของทุกหน่วยงาน
  • ช่วยจัดการรูปแบบการทำงานและข้อมูลขององค์กรให้เป็นระบบ
  • สามารถปรับแต่ง Modules ได้อย่างอิสระตามลักษณะการดำเนินงานขององค์กร
  • มีความยืดหยุ่นสูงสามารถปรับแต่งให้มีความเหมาะสมกับธุรกิจแต่ละประเภทได้ดี
  • การอัปเดตข้อมูลแบบ Real-time  สามารถทำงานร่วมกันได้ทุกที่ทุกเวลา
  • เพิ่มประสิทธิภาพการวางแผนทรัพยากรองค์กร การรวบรวม จัดเก็บ และการใช้ข้อมูลขององค์กร
  • เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (Work Efficiency) 
  • เพิ่มขีดความสามารถในการทำกำไรขององค์กร
  • ช่วยรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลจากที่ต่าง ๆ ไว้ในที่เดียวกัน
  • สามารถเชื่อมโยงของข้อมูลในการทำงานแต่ละส่วนงาน ให้เข้าถถึงกันได้
  • ส่งเสริมการทำงานร่วมกันที่ดี (Improve Collaboration)
  • ลดขั้นตอนการทำงานที่ซับซ้อนจากงานที่ยังมีความคาบเกี่ยวกัน และประหยัดเวลาในการทำงาน
  • ลดข้อผิดพลาดในการดำเนินการด้วยกระบวนการที่เป็นอัตโนมัติมากขึ้น
  • เครื่องมือที่ช่วยในการวิเคราะห์ (Analytic Tools) ที่หลากหลายมุมมอง
  • ผู้บริหารสามารถมองเห็นภาพรวมขององค์กรได้ชัดเจนและตัดสินใจได้อย่างแม่นยำมากขึ้น
  • มีความสามารถในการบูรณาการ (Integration) การทำงานของแต่ละหน่วยงานรวมไว้ภายในระบบเดียว 
  • มีความปลอดภัยสูง (High Security) 
  • ลดการใช้แรงงาน(และจำนวนพนักงาน) (ซึ่งลดรายจ่ายในการจ้างพนักงานจำนวนมากทั้งที่ไม่จำเป็น)แต่ยังคงทำงานได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง
  • ป้องกันการทุจริต โดยสามารถกำหนดได้ว่าต้องการให้ใครเป็นผู้รับผิดชอบดูแลงานส่วนใดบ้าง  หากเกิดข้อผิดพลาดขึ้น จะช่วยให้หาสาเหตุและแก้ปัญหาได้
  • ระบบปริ้นเอกสาร ใบเสนอราคา ใบสั่งซื้อสินค้า ใบแจ้งหนี้/ใบเสร็จรับเงิน เอกสารการเตรียมสินค้า เอกสารจัดส่งสินค้า เอกสารปิดหน้ากล่องแสดงรายการสินค้า(Print Label) เป็นต้น
  • สามารถใช้งานร่วมกับโปรแกรมอื่นๆได้ เช่น SAP Oracle Magento POS Express หรืออื่นๆ
  • มี Security ในการเข้าใช้โปรแกรม รวมถึงการเข้าถึงข้อมูล ทำให้มั่นใจและรู้สึกปลอดภัย
  • โปรแกรมมีระบบที่ใช้งานง่าย ยืดหยุ่น และปรับให้เข้ากับแต่ละองค์กรได้
  • ลดและควบคุมต้นทุน (Cost Control) ได้ ก็สร้างกำไรได้มากขึ้น

          ระบบ ERP ในปัจจุบันได้เข้ามามีบทบาทกับทุกธุรกิจมากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้แต่ละธุรกิจไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็กหรือใหญ่ต่างก็นำระบบ ERP มาประยุกต์ใช้กับธุรกิจ ซึ่งวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้ก็จะแตกต่างกันออกไป  แต่หากคุณกำลังเผชิญอยู่กับเหตุการณ์ต่างๆ ดังนี้  

  • รูปแบบการจัดเก็บข้อมูลไม่เป็นระบบ
  • รูปแบบ Document flow ที่ไม่เป็นระบบ
  • จัดลำดับความสำคัญได้ไม่ถูกต้อง
  • ไม่มีระบบควบคุมสต็อกสินค้า  หากมีหลายสาขายิ่งก่อให้เกิดปัญหาที่เยอะขึ้นตาม
  • หาแพลตฟอร์มที่สามารถตอบโจทย์ไม่ได้  ข้อมูลแต่ละแผนกไม่เชื่อมโยงกัน ขาดการทำงานร่วมกัน
  • การสรุปรวบรวมข้อมูลทำได้ยาก
  • การจัดทำรายงานหรือวิเคราะห์ทำได้ยากลำบากเนื่องจากข้อมูลถูกจัดเก็บกระจัดกระจายอยู่ตาม
  • ซอฟต์แวร์จำเพาะหรือรูปแบบเอกสารของแต่ละแผนก โดยที่ยังขาด Platform หรือระบบที่เป็นสื่อกลางในการทำงานร่วมกันในองค์กร

ถ้าคุณประสบกับปัญหาเหล่านี้  และไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร 

คุณสามารถปรึกษา NTN เพื่อรับคำแนะนำฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่ายติดต่อที่นี่

 

Nimbus System

          NTN จำหน่ายและให้บริการพัฒนาระบบ ERP ที่ชื่อว่า Nimbus System ที่มีความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับแต่งระบบให้เหมาะสมกับธุรกิจของคุณได้ สามารถเชื่อมโยงข้อมูลถึงกันได้แบบเรียลไทม์ ทำให้ทำงานได้อย่างสะดวก รวดเร็วมากขึ้น และยังลดข้อผิดพลาดลงได้ สรุปคือ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้นนั่นเอง

ยกตัวอย่าง สำหรับธุรกิจซื้อมาขายไป (Trading Business)  หากองค์กรของคุณไม่มีระบบ ERP มารองรับในการดำเนินการ และเมื่อธุรกิจเติบโตขึ้น มีข้อมูลในองค์กรมากขึ้น หรือมีจำนวนพนักงานและหน่วยงานที่เพิ่มขึ้น  และยังคงใช้วิธีการดำเนินงานด้วย Manual Systems ก็เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่องค์กรของคุณต้องเผชิญกับปัญหามากมาย  

Nimbus System  คืออะไร ?

          เป็น Web Application ประเภท ERP งานบริการ (Service)  กล่าวคือ Nimbus System (ERP) เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ควบคุมกระบวนการทำงานทุกขั้นตอนของแต่ละหน่วยงานภายในองค์กร และเชื่อมโยงข้อมูลจากทุกแผนกที่เกี่ยวข้องเข้ามาสู่ฐานข้อมูลศูนย์กลาง ส่งผลให้ข้อมูลดำเนินงานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้งบริษัท 

          นอกจากนี้ยังเป็นการวางแผนทางธุรกิจโดยรวมเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ระบบ Nimbus ถูกออกแบบมาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และยังช่วยขยายขีดความสามารถขององค์กรให้สามารถเพิ่มศักยภาพในการดำเนินธุรกิจได้สะดวกรวดเร็ว แม่นยำของข้อมูลที่ถูกนำไปใช้

Nimbus System ประกอบด้วยระบบหลักดังนี้

1.1 ระบบบริหารจัดการควบคุมบัญชี (Accounting) ประกอบด้วย

     1.1.1  ระบบบริหารจัดการควบคุมลูกหนี้ (Account Receivable)

     1.1.2  ระบบบริหารจัดการควบคุมเจ้าหนี้ (Account Payable)

      1.1.3  ระบบบริหารจัดการควบคุมบัญชีแยกประเภท (General Ledger)

     1.1.4  ระบบบริหารจัดการควบคุมด้านการเงิน (Financial)

1.2 ระบบบริหารจัดการควบคุมสินค้าคงคลัง (Order Fulfillment)

1.3 ระบบบริหารจัดการควบคุมจัดซื้อ (Procurement)

1.4 ระบบบริหารจัดการควบคุมสินค้า (Product Information)

1.5 ระบบบริหารจัดการควบคุมด้านการตลาด (Marketing)

1.6 ระบบบริหารจัดการควบคุมการขาย (Sales)

1.7 ระบบบริหารจัดการควบคุมการใช้งาน (System Administration)

1.8 ระบบบริหารจัดการควบคุมงานบริการ (Customer Service Excellence)

          โดยทุกระบบงานจะมีการเชื่อมโยงซึ่งกันและกันตาม Diagram 

             นอกจากนี้ยังพัฒนาระบบที่มีส่วนเชื่อมต่อเพื่อขยายขีดความสามารถของ Nimbus System ดังนี้
  1. ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงอิเลคโทรนิค (EDI) ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง B2B (Business to Business) และ B2C (Business to Customer)โดยมีการออกแบบโครงสร้างของข้อมูลร่วมกันกับบริษัทหรือลูกค้าที่ต้องการเชื่อมต่อ โดยมีการเก็บบันทึกและติดตามผลการแลก    เปลี่ยนข้อมูลได้ตลอดเวลา เมื่อมีปัญหา
  2. ระบบบริหารจัดการการค้าปลีก POS (Point Of Sales) เป็นระบบที่เหมาะสำหรับร้านค้าปลีก ซึ่งเป็นการทำรายการในครั้งเดียว ไม่ซับซ้อน โดยใช้ร่วมกับอุปกรณ์อิเล็คโทรนิคอื่นๆ เช่น เครื่องรูดบัตรเครดิตเครื่องอ่านบัตรประชาชน เป็นต้น
  3. ระบบบริหารจัดการสมาชิก (Member) เป็นระบบที่ควบคุมการกำหนดการสะสมคะแนน และการใช้คะแนนของสมาชิก ตามเงื่อนไขที่ได้ถูกกำหนดไว้ในระบบ 
  4. ระบบบริหารจัดการคลังสินค้า (WMS : Warehouse Management System) เป็นระบบสำหรับคลังสินค้า เพื่อใช้ในการบริหารการจัดเก็บ จัดส่งสินค้าไปยังลูกค้า ตลอดจนรายงานค่าใช้จ่ายต่างๆ 
  5. ระบบการชำระเงินอัตโนมัติ (Payment Gateway) เป็นระบบที่มีการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างธนาคารกับองค์กรเกี่ยวกับธุรกรรมด้านการเงิน ผ่านระบบความปลอดภัยที่ถูกกำหนดโดยธนาคารและองค์กร
  6. ระบบการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างระบบ Nimbus กับระบบ e-commerce อื่นๆ เช่น ระบบ Magento เป็นต้น
  7. ระบบงานฝากขาย (Consignment) เป็นบริการธุรกิจต่อธุรกิจสำหรับคู่ค้าฝากขาย รวมทั้งระบบการจัดการคลังสินค้าระบบฝากขาย
  8. ระบบรายงานเจ้าของผลิตภัณฑ์ (Supplier Report) เป็นระบบที่ถูกออกแบบเพื่อส่งรายงานให้กับเจ้าของผลิตภัณฑ์ในแต่ละประเทศแบบอัตโนมัติผ่านระบบ Mail Server (PI) 
  9. ระบบแจ้งงาน Online เพื่อขนส่งสินค้า (B2C)
  โดยระบบเสริมทั้งหมดนี้มีส่วนที่เกี่ยวโยงกับระบบ Nimbus 

          ในส่วนของงานด้านบริการ (Service) เป็นการให้บริการ Help Desk เฉพาะระบบ ที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้นทั้งหมด ผ่านระบบ Ticket ซึ่งงานจะถูกเปิดจากผู้ใช้งาน โดยระบบ Ticket จะมีฟังก์ชั่นงานในการควบคุม สถานะงาน และอายุงาน พร้อมทั้งการติดตามงาน (บริการหลังการขาย)

Nimbus ตอบโจทย์ธุรกิจที่หลากหลาย

  • ธุรกิจประเภทขายปลีก / ส่ง
  • ธุรกิจประเภทคลังสินค้า และการขนส่ง
  • ธุรกิจซื้อมาขายไป 
  • ธุรกิจประเภทควบคุมวันหมดอายุ
  • ธุรกิจประเภทฝากขาย
  • ธุรกิจ Online
  • ธุรกิจประเภทเครื่องใช้สำนักงาน, ยา/เคมี, อะไหล่รถยนต์, สินค้าที่มีกำหนดวันหมดอายุ, เสื้อผ้าแฟชั่น, สินค้าอุปโภคบริโภค, เครื่องใช้ไฟฟ้า, หนังสือ
  • ธุรกิจที่ต้องการขยายกิจการสู่ตลาดต่างประเทศ
  • ธุรกิจที่มีระบบ ERP ใช้งานอยู่แล้วแต่ไม่สามารถพัฒนาต่อยอด เนื่องด้วยค่าใช้จ่ายที่แพง และภาษาที่ใช้สือสารระหว่างผู้ใช้งานกับเจ้าของผลิตภัณฑ์ 

          ERP สามารถประยุกต์ใช้ได้ในหลายหลากธุรกิจ โดยระบบ ERP ที่ดีจะสามารถปรับตัวเข้ากับรูปแบบการทำงานเดิมได้ดี โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องปรับตัวมากในการใช้ระบบ  ทั้งนี้อาจรวมถึงการได้รับ Implement อย่างเหมาะสมให้เข้ากับรูปแบบการดำเนินธุรกิจคุณด้วย ซึ่งจะส่งผลให้การประยุกต์ใช้ระบบ ERP ประสบความสำเร็จด้วยดี  แต่ทั้งนี้ การจะใช้งานระบบได้ จำเป็นต้องผ่านการ Implement และ Customize ก่อน

          Implement คือ การติดตั้งทุกอย่างที่เกี่ยวกับระบบ ERP จนสามารถที่จะนำมาใช้งานในธุรกิจได้  กล่าวคือ การจัดทำระบบ เป็นการนำเอาแผนงานและพิมพ์เขียวของระบบที่เราได้ออกแบบไว้ในขั้นตอนก่อนหน้า (analysis and design) มาจัดทำให้เป็นระบบที่ใช้งานได้จริง  ซึ่ง implementation จะประกอบด้วยสองขั้นตอนหลักคือ Development(พัฒนาระบบ) และ Installation(การติดตั้งระบบ)

          Customize คือ การปรับระบบที่มีอยู่แล้วโดยมาตรฐาน ให้มีความสอดคล้องกับการทำงานขององค์กรมากยิ่งขึ้นหรือจะเรียกว่าการเปลี่ยนระบบให้ทำงานตามความต้องการขององค์กรนั่นเอง  เปรียบได้กับการสั่งตัดเย็บเสื้อผ้าให้มีขนาดพอดีกับตัว ไม่ใช่ชุดขนาดมาตรฐานที่จำหน่ายทั่วไป เช่น ระบบมาตรฐานมีกระบวนการที่ 1 ไป 2 ไป 3 แต่การทำงานจริง อาจเป็น 1 ไป 3 แล้วกลับมา 2 เป็นต้น  ระบบจึงต้องสามารถยืดหยุ่นและปรับแต่งให้เข้ากับการดำเนินงานของธุรกิจได้ ดังนั้น ระบบจึงมีขนาดพอดีและเหมาะสมกับองค์กร